ระบบการศึกษาของประเทศอเมริกา

 ระบบการศึกษาของประเทศอเมริกา

     รูปภาพจาก EC English New York

 ระบบการศึกษาของประเทศอเมริกา

แม้ว่าประเทศสหรัฐจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่าง ๆ มากที่สุดในโลก แต่อเมริกาก็เป็นศูนย์กลางในหลาย ๆ ด้านของโลกเช่นกัน ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ การค้า และการศึกษา อเมริกา จัด เป็นประเทศที่เหมาะแก่การศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติประเทศหนึ่ง เนื่องจากมีทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ, อาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก, เนื้อหาการเรียนที่ทันสมัย และนักเรียนต่างชาติทั่วโลก

ระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกามีหลายสาขาวิชาให้นักศึกษาชาวต่างชาติเลือก นักศึกษาจะต้องทำการตัดสินใจเลือกตั้งแต่ประเภทของโรงเรียน หลักสูตรวิชาเรียน และสถานที่ตั้งของโรงเรียน ซึ่งมีตัวเลือกให้เลือกมากมาย ดังนั้น นักเรียนควรจะทำความเข้าใจระบบการศึกษาของประเทศนี้ก่อน เพื่อช่วยให้เลือกโรงเรียนและวางแผนการศึกษาได้อย่างมีประสิธิภาพ

 โครงสร้างการศึกษาของอเมริกาได้แบ่งระดับในการเรียน ดังนี้
  •  ระดับอนุบาล ( Kindergarten) เด็กอเมริกาจะเข้าเรียนระดับอนุบาล เมื่ออายุ 3 ปี – 6 ปี
  •  ระดับประถมศึกษา (Elementary School)
  •  ระดับมัธยมศึกษา (Secondary School)
  •  ระดับอุดมศึกษา (Higher education) 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การศึกษาระดับอนุบาล ( Kindergarten) 

การศึกษาระดับนี้ไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับของเด็กประเทศอมเริกา แต่ผุ้ปกครองก็สามารเอานักเรียนเข้าโรงเรียนเพื่อปรับพื้นฐานในช่วงอายุ 3-6 ปี ก่อนที่จะเริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับประถมศึกษาได้ 



ระดับประถมศึกษา (Elementary School)

การศึกษาระดับประถมศึกษา สำหรับเด็กอายุ 6 ปี มีระยะการศึกษา 6 ปี คือ เข้าเรียนในชั้น Grade 1 ถึง Grade 6 ซึ่งตรงกับประเทศไทย คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 นั่นเอง


ระดับมัธยมศึกษา (Secondary School) 

ก่อนที่นักศึกษาจะสามารถเข้าทำการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นสูง (Higher education) ได้นั้น นักศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาก่อน ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 6 ปี

โรงเรียนมัธยมศึกษาหรือ Secondary school มีสองหลักสูตรด้วยกัน หลักสูตรแรกคือ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือที่เรียกกันว่า “Middle school” หรือ “Junior high school” หลักสูตรที่สองคือหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ High school และนักศึกษาจะได้รับใบประกาศนียบัตรก็ต่อเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังจากนั้นนักศึกษาจึงสามารถสมัครเข้าทำการศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัยได้ ซึ่งเรียกกันว่า “Higher education”


ระดับอุดมศึกษา (Higher education) 
1. วิทยาลัยชุมชน (Community Colleges)

การศึกษาในระดับนี้ มี 2 ลักษณะ คือ
  • Transfer Track เป็นหลักสูตรที่เป็นวิชาพื้นฐาน 2 ปีแรกของการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยจะต้องลงเรียน รายวิชาบังคับ จากนั้นนักศึกษาสามารถ โอนหน่วยกิตไปยังมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐหรือเอกชนเพื่อศึกษาต่อในระดับชั้นปี ที่ 3 โดยที่เกรดเฉลี่ยที่นักศึกษาทำได้ในระหว่าง 2 ปีนี้ จะเป็นตัว กำหนดว่านักศึกษาจะได้รับการตอบรับ เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ที่ต้องการหรือไม่
  • Terminal / Vocational Track เป็นหลักสูตรอนุปริญญาสายวิชาชีพ หลังจากที่เรียนจบในระยะเวลา 2 ปีแล้วนักศึกษาจะได้รับ วุฒิอนุปริญญาทางสาขาวิชาที่เลือก

2. วิทยาลัย (Colleges) 
เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) และปริญญาโท ซึ่งหลังจากที่เรียนจบหลักสูตรแล้ว วุฒิบัตรที่ได้รับจะมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยทุก ประการ ไม่ว่าสถาบันนั้นจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตาม

3. มหาวิทยาลัย (University) 
เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไป มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโท และเอกใน สาขาต่าง ๆ

4. สถาบันเทคโนโลยี (Institute of Technology) 
โดยส่วนใหญ่ มักจะมุ่งเน้น ที่การเรียนการสอนในสาขา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึง ระดับปริญญาโท และเอก

การศึกษาในสหรัฐอเมริกานั้นแต่ละรัฐจะควบคุมคุณภาพการเรียนการสอนและวางแผน การศึกษาของตนเองโดยไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง ทุกรัฐจะมีหน่วยงานการศึกษาคล้ายกับกระทรวงศึกษาธิการคอยกำหนดมาตรฐานต่างๆ แนะนำเงินงบประมาณอุดหนุนให้โรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย จากเงินภาษีที่เก็บได้จากประชาชนในแต่ละรัฐ

.........................................................................................
สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อ 02-3924186 หรือ chanin@ascend-education.com (พี่นิน), lan@ascend-education.com (พี่หลัน)
สอบถามข้อมูลผ่าน LINE@ กดลิ้งนี้ https://line.me/R/ti/p/%40ova2950r

หรือไอคอนข้างล่างนี้