การเตรียมตัวพร้อมก่อนเดินทางไปประเทศนิวซีแลนด์




ข้อมูลสำหรับเตรียมตัวก่อนเดินทางไปประเทศนิวซีแลนด์
v นิวซีแลนด์ (NEW ZEALAND) : ข้อมูลเบื้องต้น
นิวซีแลนด์ (New Zealand หมายถึง ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาวหรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกาพื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์มีภูมิอากาศเขตอบอุ่น และภูมิประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและความสวยงามทางธรรมชาติ เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์เน้นการค้าโดยมีฐานจากการเกษตร ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปนิยมการเดินทางเดินทางและสนับสนุนการร่วมมือกันระหว่างประเทศและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมภายนอกเป็นกิจกรรมที่นิยมกันโดยเฉพาะกีฬาต่าง ๆ คือ รักบี้ซึ่งเป็นกีฬาประจำชาติ คริกเกต และ เนตบอล รวมถึง กีฬาเอกซ์ตรีมสปอร์ตและการเดินไกล

v ลักษณะภูมิประเทศ
นิวซีแลนด์ อยู่ใกล้กับประเทศ ออสเตรเลีย ลักษณะเกาะมีรูปร่างยาว ประกอบไปด้วยชายหาดมากมาย และทะเลเล็กๆ ทีเรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) บางส่วนเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ใช้เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีบ่อน้ำร้อน ภูเขาไฟที่ดับแล้วและยังไม่ดับ บ่อโคลนเดือน บริเวณเทือกเขาสูงมีหิมะขาวปกคลุม พื้นที่ของประเทศนิวซีแลนด์โดยรวมประมาณ 268,105 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเทียบเท่าขนาดของประเทศอังกฤษ หรือญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ตั้งอยู่บนเปลือกโลกสำคัญ 2 แผ่นมาชนกันคือ แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก (Pacific Plate) และแผ่นเปลือกโลกอินเดียน-ออสเตรเลียน (Indian-Australian Plate) ส่งผลให้เกาะเหนือและเกาะใต้ยังมีแหล่งน้ำพุร้อน บ่อโคลนเดือด และกิจกรรมของความร้อนใต้โลกผุดขึ้นมาอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะ เทือกเขาแอลป์ใต้” (The Southern Alps) ถือเป็นเทือกเขาสำคัญที่สุดของเกาะใต้ เปรียบประดุจแกนกระดูกสันหลังของประเทศ และเป็นยอดเขาสูงทีสุดในนิวซีแลนด์ด้วย
เกาะเหนือ (North Island) : โอ๊คแลนด์ (Auckland) เป็นเมืองใหญ่และกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีประชากรประมาณเกือบ 2 ล้านคน เมืองนี้เป็นศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ เป็นเมืองท่าเรือที่สำคัญ และเป็นเมืองแห่งการเล่นเรือใบ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและสถาบันที่เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น University of Auckland
เกาะใต้ (South Island) : ไคร้สท์เชิร์ช (Christchurch) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะใต้ เป็นเมืองอุทยานแบบอังกฤษ มีสวนดอกไม้สวยงาม มีประชากรอาศัยอยู่ราว 3 แสนคน โดดเด่นด้วยเทือกเขาแอลป์ใต้ที่มียอดเขาหิมะขาวโพลนห่มคลุมชั่วนาตาปี น้ำแข็งจากยอดเขาละลายไหลพาแร่ธาตุลงมารวมตัวเป็นทะเลสาบสีเขียวมรกตและสีเทอร์ควอยส์ รวมไปถึงมีธานน้ำแข็งและภูมิประเทศเฉพาะของเกาะใต้ที่เรียกว่า ฟยอด์ (Fiordland หรือ Fjord) ลักษณะเป็นชายฝั่งเว้าแหว่ง อันเกิดจากการถูกธารน้ำแข็งในอดีตกัดเซาะ ผืนน้ำในฟยอด์นั้นจัดว่าสวยที่สุดในนิวซีแลนด์ และเกาะใต้ยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น University of Canterbury และ Lincoln University ดันนิดิน (Dunedin) หรือสก๊อตแลนด์แห่งนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะใต้ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ University of Otago

v สังคมและวัฒนธรรม
ประชากร : ชาวนิวซีแลนด์เป็นชนชาติที่โปรดปรานการเล่นกีฬาทั้งกลางแจ้งและในร่ม กีฬาที่เป็นที่นิยมคือ รักบี้ ชาวนิวซีแลนด์ เป็นคนรักธรรมชาติ และตื่นตัวในเรื่องสภาพแวดล้อม ถึงกับประกาศให้ ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นเขตปลอดนิวเคลียร์ ประเทศแรกในโลก จากสถิติล่าสุด ประเทศนิวซีแลนด์มีประชากร 4 ล้านคน 74% สืบเชื้อสาย มาจากชาว ยุโรป เช่น อังกฤษ สก๊อตแลนด์ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 15% เป็น ชาวเผ่าเมารี 5% เป็นชาวโพลินีเซียน จากเกาะต่างๆ 4% เป็นชนเชื้อสายจีน และ 1% ที่เหลือเป็นชนชาติอื่น ในช่วงที่รัฐบาล สนับสนุนให้ผู้มีความรู้ ความสามารถอพยพจากประเทศต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศนิวซีแลนด์ได้ ปรากฏว่าชาวเอเชียและโพลินีเซียน ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่มากกว่าชนชาติอื่น นิวซีแลนด์จึงเป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยหลายชาติหลายภาษา ผู้คนเป็นมิตรต่อกัน ไม่มีการเหยียดผิว หรือดูถูกคนต่างชาติ เนื่องจากเป็นประเทศท่องเที่ยวจึงมีความคุ้นเคยกับคนเอเชียเป็นอย่างดี

การปกครอง : นิวซีแลนด์ ปกครองประเทศแบบ ประชาธิปไตย ตามระบบ รัฐสภา กล่าวคือผู้มีสิทธิออกเสียงเลือก สมาชิกรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาเลือก นายกรัฐมนตรี ตามลำดับ
ศาสนา : ประชากรส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาคริสต์ สำหรับศาสนาอื่น เช่น ศาสนาพุทธ อิสลาม ฮินดู จะมีศาสนสถาน สำหรับบูชา และประกอบพิธีทางศาสนาของตนเองตามเมืองใหญ่ ใน 3 เมืองใหญ่ในนิวซีแลนด์คือ Auckland Christhchurch และ Wellington มี วัดไทย ตั้งอยู่เพื่อสักการะบูชาและประกอบกิจกรรมทางศาสนา เป็นศูนย์รวมของคนไทยในนิวซีแลนด์ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นอย่างดีเสมอมา
ศิลปะและวัฒนธรรม : ศิลปะดั้งเดิมของนิวซีแลนด์ ก็ต้องยอมรับในศิลปะของชาวเมารี ซึ่งมีรูปแบบศิลปะเฉพาะของชาวเกาะโพลีนีเชียน งานศิลป์ที่เกิดจากการถ่ายทอดฝีมือจากรุ่นสู่รุ่นมานับพันปี ยากที่จะหาใครเลียนแบบ ปัจจุบันหนึ่งในงานส่งออกสำคัญที่สุดของนิวซีแลนด์คือผลงานของชาวเมารี ตัวอย่างเช่น ติกิ (Tiki) ซึ่งก็คือรูปแกะสลักจากหยกเขียว หินสี กระดูกปลา และไม้สลักเป็นจี้เล็กๆ สำหรับร้อยสายห้อยคอ นับเป็นสินค้ายอดฮิตอย่างหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อ
สามสิ่งที่ควรรู้จักเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมเมารี : โมโก (Moko) คือการสักบนใบหน้าของชาวเมารี สิ่งบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม ตำแหน่ง เผ่า และหน้าที่ โดยผู้หญิงนิยมสักเฉพาะส่วนคางแต่ชายนิยมสักทั้งหน้าโปอิ (Poi) คือการเต้นรำและร้องเพลงเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ สิ่งนี้มีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเมารีดั้งเดิมฮักกา (Haka) คือระบบก่อนออกรบ ที่ชายฉกรรจ์ชาวเมารีจะร่วมกันเต้นเพื่อปลุกใจ ให้เกิดความฮึกเหิม เน้นท่วงท่าทรงพลัง แข็งแกร่ง ก้าวร้าว ดุดัน น่ากลัว โดยจะมีการแลบลิ้นปลิ้นตาและกระทืบเท้า ข่มขวัญข้าศึก ปัจจุบันระบำฮักกามีแสดงเฉพาะให้นักท่องเที่ยวชม และรักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์จะเต้นฮักกาทุกครั้งก่อนแข่งขันกับทีมต่างชาติ

v สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศและฤดูกาล : โดยทั่วไปอากาศของนิวซีแลนด์จะสบายๆ ค่อนข้างเย็น แต่ไม่ถึงกับเย็นจัดจนหิมะตก เกาะเหนือจะมีอากาศอบอุ่นกว่าเกาะใต้ เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ เดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ฤดูกาลของนิวซีแลนด์ แบ่งเป็น 4 ฤดู คือ
ฤดูร้อน (Summer) : ช่วงเดือนธันวาคม กุมภาพันธ์ (10-25 C) อากาศจะไม่ร้อนมาก อบอุ่น เหมาะสำหรับการเล่นกีฬาทางน้ำ
ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) : ช่วงเดือนมีนาคม พฤษภาคม (6-21 C) เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
ฤดูหนาว (Winter) : ช่วงเดือนมิถุนายน สิงหาคม (0-16 C) เหมาะกับการเล่นสกี และหิมะ อาจจะมีฝนตกบ้าง
ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) : ช่วงเดือนกันยายน พฤศจิกายน (5-19 C) อากาศดีและเหมาะกับการท่องเที่ยวที่สุด

v อุณหภูมิในเมืองสำคัญๆ
โอ๊คแลนด์ (Auckland) เกาะเหนือ : ฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 23.8 C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 16.4 C ฝนตกเฉลี่ยต่อเดือน 10 วัน ฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 14.7 C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 8.0 C ฝนตกเฉลี่ยต่อเดือน 13 วัน
เวลลิงตัน (Wellington) เกาะเหนือ : ฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 20.3 C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 13.4 C ฝนตกเฉลี่ยต่อเดือน 9 วัน   ฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 11.3 C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 6.2 C ฝนตกเฉลี่ยต่อเดือน 11 วัน
ไครสต์เชิร์ช (Christchurch) เกาะใต้ : ฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 22.5 C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 12.2 C ฝนตกเฉลี่ยต่อเดือน 7 วัน   ฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 11.3 C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 1.7 C ฝนตกเฉลี่ยต่อเดือน 7 วัน
ควีนสทาวน์ (Queenstown) เกาะใต้ : ฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 22.5 C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 10.7 C ฝนตกเฉลี่ยต่อเดือน 8 วัน   ฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 8.1 C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 0.1 C ฝนตกเฉลี่ยต่อเดือน 8 วัน
v เวลา
เวลาของนิวซีแลนด์เร็วกว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง (ยกเว้น ในช่วงต้นเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนมีนาคม เวลาจะเร็วขึ้นอีก 1 ชั่วโมง เป็น 6 ชั่วโมง) สำหรับการเดินทางไปนิวซีแลนด์นั้น ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯโดยเครื่องบินประมาณ 10 ชั่วโมง
v ความปลอดภัย
นิวซีแลนด์ได้ชื่อว่าเป็น ประเทศที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะและอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนอยู่ดีกินดี รัฐบาลให้การดูแลเรื่องสวัสดิการต่างๆ เป็นอย่างดี อาชญากรรมจึงมีน้อย ผู้คนมีชีวิตที่เรียบง่าย นักเรียนไทยที่เคยไปศึกษาที่นิวซีแลนด์ มักจะพูดว่า นิวซีแลนด์เป็นประเทศเล็กๆ ที่ปลอดภัยมาก

v การจัดกระเป๋า
ควรเช็คน้ำหนักกระเป๋าตามกำหนดของสายการบิน และสภาพอากาศช่วงที่ไปอยู่ จะทำให้จัดเสื้อผ้าได้อย่างพอดีและเหมาะสมควรจัดสัมภาระและสิ่งของลงในกระเป๋าเดินทางอย่างเป็นระเบียบ หากนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปเองควรนำตัวแปลงไฟไปด้วย

สัมภาระที่จำเป็นต้องจัดลงกระเป๋าเดินทาง ได้แก่
  • ·        เสื้อผ้าเช่น เสื้อแจ๊คเก็ตหรือเสื้อโค้ทที่กันลมกันฝนได้ เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี รองเท้าผ้าใบและรองเท้าบูท เป็นต้น
  • ·        ยาสามัญ ยาประจำตัวและของใช้ส่วนตัวต่างๆ
  • ·        อุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น ร่ม แว่นตา แว่นกันแดด หมวก Adapter ปลั๊กพ่วง ไดร์เป่าผม เป็นต้น และของมีคม เช่น กรรไกร กรรไกรตัดเล็บ คัตเตอร์ ให้จัดลงในกระเป๋าเดินทาง ห้าม!ใส่ในกระเป๋าที่ติดตัวขึ้นเครื่อง
  • ·        ทำสัญลักษณ์ที่กระเป๋า เช่น ใช้โบว์ผูก หรือติดสติ๊กเกอร์ เพื่อที่จะสังเกตได้ง่ายเวลาหยิบกระเป๋า
  • ·        ควรจะมีเป้หรือมีกระเป๋าสะพายที่สามารถใส่หนังสือเรียนไปใช้ที่โรงเรียนได้
  • ·        แบตเตอรี่สำรอง(Power Bank) ห้าม! ใส่ในกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องเด็ดขาด ให้ใส่ในกระเป๋าที่ถือติดตัวขึ้นเครื่องได้เท่านั้น แต่ต้องไม่เกิน 35,000 mAh
  • ·        Laptop ต้องถอดแบตเตอรี่ออก แนะนำให้ถือขึ้นเครื่อง
  • ·        ถ้ามีอาหารหรือสิ่งของต้องแสดง ให้จัดไว้ด้านบนของกระเป๋าเพื่อง่ายต่อการตรวจของศุลกากร
  • ·        ในส่วนของสัมภาระที่ถือติดตัวขึ้นเครื่อง ตามกำหนดมาตรฐานของสายการบินทั่วไปจะไม่เกิน 7 kg ในส่วนนี้ควรเป็นสัมภาระที่จำเป็นในระหว่างการเดินทางเท่านั้น และห้าม!นำของเหลว เจล หรือครีม ขนาดเกิน 100 ml. ขึ้นเครื่อง รวมไปถึงเอกสารสำคัญต่างๆ ควรใส่กระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่องและเก็บไว้กับตัวตลอด


v เอกสารสำคัญ
  • ·        ตั๋วเครื่องบิน
  • ·        Passport และ Copy Passport (อาจจะเก็บใส่กระเป๋าเงิน)
  • ·        เอกสารตอบรับจากโรงเรียนหรือเอกสารที่เกี่ยวกับการเดินทางทั้งหมด
  • ·        ประกันและเอกสารรับรองเกี่ยวกับที่พัก รวมถึงเอกสารที่มีเบอร์ติดต่อเจ้าหน้าที่โรงเรียนหรือบุคคลที่ติดต่อได้ในนิวซีแลนด์
  • ·        ปากกา ใช้ในการเซ็นเอกสารต่างๆ เช่น ใบขาออก ใบขาเข้าประเทศ
  • ·        กุญแจกระเป๋าเดินทาง (ถ้าเจ้าหน้าที่ที่สนามบินขอให้เปิดกระเป๋าจะได้สะดวกในการหยิบ)
  • ·        นักเรียนที่อายุน้อยกว่า 18 ปี เดินทางคนเดียว ให้นำ ใบยินยอมจากพ่อแม่ (consent letter)” ตัวจริงไปด้วย



v  การแลกเงิน
·        ควรแลกเงิน NZD เตรียมไว้ก่อนการเดินเข้าประเทศนิวซีแลนด์ และควรแลกให้เพียงพอต่อการเดินทางอาจเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายไว้เบื้องต้นประมาณ 3 เดือน
·        เมื่อมาถึงควรเปิดบัญชีกับธนาคารที่น่าเชื่อถือ และหลีกเลี่ยงการถือเงินสดติดตัวไว้เป็นจำนวนมากๆ
·        ไม่มีการจำกัดจำนวนเงินต่างประเทศที่นำเข้านิวซีแลนด์ แต่หากนำเงินสดเข้ามาเกิน 10,000ดอลล่าห์นิวซีแลนด์ ต้องมีการกรอกเอกสารที่เรียกว่า Border Cash Report ส่งต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร
·        ระบบเงินตรา
หน่วยเงินตราของประเทศนิวซีแลนด์ คือ NZ$ ดอลล่าห์ ค่าเงินต่าง ๆ แบ่งได้ดังนี้
- ธนบัตรนิวซีแลนด์ มีมูลค่า $1, $2, $5, $10, $20, $100
- เงินเหรียญที่เป็นเซ็นต์ มีมูลค่า 5 เซ็นต์, 10 เซ็นต์, 20 เซ็นต์, 50



v สิ่งของห้ามนำเข้าประเทศนิวซีแลนด์
มีการห้ามนำสัตว์หรือพืช ผลิตผลจากสัตว์หรือพืช อันประกอบด้วย เมล็ดพืชหรืออาหารต่างๆเข้ามาในประเทศ รวมไปถึงเนื้อแห้งที่อาจจะมีเชื้อโรค เปลือกหอย ขนนก ผลิตภัณฑ์จากไม้ ยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณที่ต้องถูกตรวจสอบ เป็นต้น
  • นักเรียนจะต้องกรอกแบบฟอร์มสิ่งของที่ต้องสำแดง หากไม่แน่ใจนักเรียนอาจจะต้องทิ้งสิ่งของเหล่านั้น หรือให้บรรจุสิ่งของไว้ส่วนบนของกระเป๋าเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ เมื่อถึงด่านศุลกากรให้เข้าช่องสีแดงในกรณีที่สิ่งของที่ต้องตรวจสอบหรือสำแดง และเข้าช่องสีเขียวในกรณีที่ไม่มีสิ่งใดต้องตรวจสอบหรือสำแดง รายการสิ่งที่ต้องสำแดง  ได้แก่
  • ·        อาหาร และผลิตภัณฑ์ และส่วนประกอบในการทำอาหาร
  • ·        พืชและส่วนต่างๆของพืช (ทั้งมีชีวิตและไม่มี) ประกอบด้วย ลำต้น ราก
  • ·        สัตว์ (มีชีวิตและไม่มี) หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และสิ่งที่ทำจากสัตว์
  • ·        อุปกรณ์ตั้งแคมป์ กอล์ฟ รองเท้าปีนเขา รองเท้าและอุปกรณ์ขี่ม้า รวมถึงจักรยานมือสอง
  • ·        ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพต่างๆ

v การเปิดบัญชีธนาคาร
·        ธนาคารที่ประเทศนิวซีแลนด์จะเปิดทำการทุกวันจันทร์ วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชกาล) เวลา 00 – 16.30 น.
·        การเปิดบัญชีธนาคาร ใช้ Passport และแจ้งข้อมูลที่อยู่ที่แน่นอนแก่เจ้าหน้าที่ธนาคาร ธนาคารส่วนใหญ่จะจัดการเรื่องการเปิดบัญชีและออกบัตรให้ภายใน 5-10 วัน
·        บัตรเอทีเอ็ม และบัตรเครดิต จะใช้ระบบรวมถึงรหัสเหมือนกับประเทศไทย
·        ควรเปิดบัญชีธนาคารกับธนาคารที่น่าเชื่อถือ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ที่เรียน หรือที่พักอาศัย
·        รายชื่อธนาคารที่จดทะเบียนในนิวซีแลนด์ได้แก่ ABN AMRO Bank, ANZ National Bank Limited, ASB Bank Limited, Bank of New Zealand Limited, Commonwealth Bank of Australia, Deutsche Bank, Kiwibank Limited

v ระบบไฟฟ้า/ปลั๊กไฟ
·        กระแสไฟฟ้า 230/240 โวลต์ ในโรงแรมและที่พักส่วนใหญ่จะเตรียมไฟระบบ 110 โวลต์ไว้ให้บริการด้วย
·        ปลั๊กไฟเป็นแบบ 3 รูแบนควรนำอุปกรณ์แปลงไฟ(Adapter) และปลั๊กสามตาติดไปด้วย


v ระบบโทรศัพท์
·        รหัสประเทศนิวซีแลนด์คือ +64 (ในนิวซีแลนด์ หมายเลขโทรศัพท์จะมี 7 หลัก)
·        การใช้โทรศัพท์สาธารณะของนิวซีแลนด์ ปกติจะมีอยู่ 2 แบบคือ แบบใช้บัตร และแบบหยอดเหรียญ บัตรโทรศัพท์สามารถหาซื้อได้ตามร้านทั่วไป ในส่วนของการใช้ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ จะต้องใช้เหรียญ 20 เซ็นหยอดเพื่อใช้บริการ
·        โทรศัพท์มือถือ สามารถซื้อซิมใหม่ของนิวซีแลนด์เปลี่ยนได้ และเลือกใช้บริการแบบเติมเงิน หรือลงทะเบียนกับ Vodafone หรือ Telecom ก็ได้รวมไปถึงอินเตอร์เน็ตก็สามารถสมัครเพคเกจ หรือเชื่อมต่อ Wifi ได้ตามปกติ
·        ถ้าต้องการโทรกลับประเทศไทย ต้องกดรหัสประเทศไทยคือ +66 ตามด้วยหมายเลขโทรศัพท์ปลายทาง
·        การโทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายไฟไหม้ หรือเหตุฉุกเฉินต่างๆสามารถโทรได้ที่เบอร์ 111 โดยไม่เสียเงิน เช่นเดียวกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย 0800 ก็โทรฟรีเช่นกัน

v การเดินทางและการประหยัดค่าเดินทางในนิวซีแลนด์
ในเมืองใหญ่ต่างๆ การเดินทางมีความสะดวกง่ายดายและราคาถูก โดยมีรถประจำทางวิ่งให้บริการทุกครึ่งชั่วโมง อย่างไรก็ตามคุณสามารถเดินหรือขี่จักรยานไปยังสถานที่ต่างๆใกล้กับสถาบันการศึกษาของคุณได้ ภูมิภาคต่างๆในประเทศนิวซีแลนด์มีการเชื่อมต่อถึงกันโดยสายการบินภายในประเทศ (Jet Star, Pacific Blue และ Air Zealand) นอกเหนือจากการเดินทางโดยรถไฟ เรือและรถประจำทางซึ่งช่วยให้การเดินทางไปตามเขตชนบทมีความสะดวกง่ายดาย ข้อดีอีกอย่างของการเดินทางในประเทศนิวซีแลนด์ คือ ระยะทางระหว่างสถานที่ต่างๆมีระยะทางไม่ไกล ยกตัวอย่างเช่น เที่ยวบินระหว่างเมือง Wellington และ Auckland ใช้เวลาเดินทางเพียงหนึ่งชั่วโมง หากคุณต้องการเดินทางข้ามระหว่างเกาะทางภาคเหนือและภาคใต้ด้วยเส้นทางทางน้ำอันสวยงาม มีเรือข้ามฟาก Interislander และ Bluebridge ที่ให้บริการรับส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง Wellington และ Picton โดยใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง เว็บไซต์ด้านการเดินทาง เมื่อต้องเดินทางไปยังต่างประเทศหรือระหว่างรัฐ นักศึกษาสามารถประหยัดเงินค่าเดินทางได้ คุณควรสอบถามจากตัวแทนท่องเที่ยวเมื่อทำการจอง STA travel คือตัวแทนท่องเที่ยวซึ่งมีความเชี่ยวชาญพิเศษในการให้บริการเที่ยวบินและโปรแกรมท่องเที่ยวราคาประหยัดสำหรับนักศึกษา

การเดินทางในเมือง : หากคุณต้องการเดินทางท่องเที่ยวภายในเมืองใดเมืองหนึ่งเป็นเวลาหนึ่งหรือสองวัน คุณสามารถซื้อตั๋วโดยสารวันเดียว ซึ่งรวมบริการขนส่งมวลชนทุกประเภทและช่วยให้คุณประหยัดกว่าการจ่ายค่าโดยสารเป็นรายครั้ง รายละเอียดเกี่ยวกับทางเลือกบัตรเดินทางภายในเมืองสำคัญๆของนิวซีแลนด์หากคุณพักเป็นเวลานานสามารถดูได้ด้านล่างนี้

โอ๊คแลนด์ : เมืองอ๊อคแลนด์มีเครือข่ายขนส่งมวลชนโดยรถประจำทาง รถไฟและเรือข้ามฟากที่มีประสิทธิภาพและราคาประหยัดเพื่อให้คุณสามารถเดินทางไปรอบเมืองและเขตชานเมือง มีบริการรถประจำทาง Link และ Stagecoach วิ่งให้บริการทุก 10 นาทีอยู่รอบเมือง หากคุณต้องการเดินทางไปยังหลายสถานที่ในหนึ่งวัน บัตรโดยสาร Auckland Day Pass เป็นทางเลือกที่ประหยัดที่สุดซึ่งรวมการใช้บริการรถประจำทางและเรือข้ามฟากในเมือง นอกจากนี้ยังสามารถประหยัดเงินได้ด้วยการซื้อบัตรโดยสาร 10 รอบสำหรับรถประจำทาง รถไฟและเรือข้ามฟากทุกสายได้อีกด้วย โปรแกรมวางแผนการเดินทางบนเว็บไซต์ Maxx จะช่วยให้คุณสามารถเลือกได้ว่ารูปแบบการเดินทางและตั๋วโดยสารแบบใดที่เหมาะสำหรับคุณ

เวลลิงตัน : เมืองเวลลิงตันก็เป็นอีกเมืองที่มีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและราคาประหยัดด้วยบริการรถประจำทางและรถไฟ บัตรรายเดือนและบัตรโดยสาร 10 รอบเพื่อใช้บริการรถไฟและรถประจำทางมีจำหน่ายสำหรับนักศึกษาที่ต้องอยู่อาศัยเป็นระยะเวลานานและมีราคาตามโซนพื้นที่การเดินทาง หากคุณอยู่ที่นี่เพียงไม่กีวัน การซื้อบัตร Daytripper เป็นรายวันจะคุ้มค่ากว่า โดยคุณจะสามารถใช้บริการรถประจำทางและรถไฟได้ในโซน 1-3 ของเมือง

ไครส์เชิร์ช : รถประจำทางภายในเมืองไครส์เชิร์ชทุกสายให้บริการโดย Bus Exchange คุณสามารถซื้อบัตรโดยสารรายสัปดาห์และบัตรโดยสารหนึ่งวันซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้ นอกจากนี้ยังมีบริการรถประจำทางฟรีในเขตใจกลางเมืองซึ่งมีสีเหลืองสดและวิ่งให้บริการตามจุดสำคัญในเมืองทุก 10-15 นาที

ดะนีดิน : เมืองดะนีดินเป็นเมืองขนาดเล็กและสถานที่ส่วนใหญ่สามารถเดินถึงกันได้จากสถาบันการศึกษาของคุณ อย่างไรก็ตามก็มีรถประจำทางให้บริการอยู่รอบเมืองโดยบริษัท The Octagon และมีบัตรโดยสารจำหน่ายโดยคิดค่าบริการตามโซนพื้นที่



v ที่พัก

บ้านเช่าหรืออพาร์ทเม้นท์: ค่อนข้างสะดวกและเป็นอิสระ ส่วนใหญ่จะเปิดให้เช่ากับนักเรียนอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถหาบ้านเช่าหรือห้องพักเองได้ตามความสนใจ หรืออาจพักแชร์กับเพื่อนที่นักเรียนต้องการได้ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีเฟอร์นิเจอร์ให้ครบต้องหาเพิ่มเติมเอง และจะต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์รวมถึงค่าติดตั้งต่างๆเอง ค่าเช่าจะเริ่มที่ประมาณ NZ$120/คน/สัปดาห์ และจะต้องจ่ายมัดจำล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งจะได้คืนเมื่อเลิกเช่าและสภาพที่พักไม่มีความเสียหายใดๆนักเรียนสามารถหาบ้านเช่าได้จากบอร์ดประกาศของทางสถาบัน หรือหนังสือพิมพ์ที่มีรายชื่อของบ้านเช่าต่างๆหากนักเรียนเกิดปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช่าบ้าน สามารถติดต่อ Tenancy Services ซึ่งเป็นหน่วยงานของ Ministry of Housing

หอพักสำหรับนักเรียน: ค่อนข้างสะดวกกับนักเรียน เนื่องจากส่วนใหญ่ที่พักประเภทนี้จะตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่เรียนมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ห้องพักจะเป็นแบบเตียงเดี่ยวหรือคู่ พักเดี่ยว และพักรวมกับนักเรียนคนอื่น มีห้องรับประทานอาหารรวม นอกจากนี้ยังมีห้องสำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน ค่าเช่าจะเริ่มที่ประมาณ NZ$140/คน/สัปดาห์ซึ่งจะไม่รวมค่าจัดหาที่พักอีกประมาณ NZ$200

Homestay: นักเรียนจะพักอยู่กับครอบครัวชาวนิวซีแลนด์ในเขตชานเมือง โดยจะมีห้องพักเป็นของตัวเอง โฮสจะเตรียมอาหาร และ ให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ เช่นการใช้โทรศัพท์ การดูตารางรสบัส การไปหาหมอเมื่อเจ็บป่วย และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นการพักแบบนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนักเรียนควรมีการปรับตัวในการใช้ชีวิตให้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของโฮส ราคาที่พักจะเริ่มที่ประมาณ NZ$250/คน/สัปดาห์ ซึ่งจะไม่รวมค่าจัดหาที่พักอีกประมาณ NZ$200



v อาหารและสินค้าขึ้นชื่อของนิวซีแลนด์
  • ·   น้ำประปาของนิวซีแลนด์ เป็นน้ำสะอาด สามารถดื่มได้
  • ·   อาหารเช้า ชาวนิวซีแลนด์จะไม่ทานหนักในมื้อเช้า ส่วนใหญ่จะเป็นขนมปังปิ้ง ซีเรียลนมและผลไม้ เป็นต้น
  • ·   อาหารกลางวัน จะเป็นแซนวิส สลัด ซูชิ ผลไม้สด บิสกิตและเค้กเป็นต้น
  • ·   อาหารเย็น (หรือเรียกว่า “Tea”) ถือเป็นมื้อหลัก มื้อสำคัญ และมื้อใหญ่ที่สุด จะเริ่มประมาณ 6 โมงเย็น ส่วนใหญ่จะเป็นสเต็กเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา มันเทศ ผัก พาสต้าหรือข้าว เป็นต้น
  • ·   อาหาร ของฝาก และสินค้าขึ้นชื่อของนิวซีแลนด์ ได้แก่ เนื้อแกะ, เนื้อกวาง, อาหารทะเล,ชีส, น้ำผึ้ง, กีวี่, ไวน์, สินค้าพื้นเมืองหรือชื้นงานแกะสลักของชนเผ่าเมารีและผลิตภัณฑ์จากแกะ


v วันและเวลาทำการ สถานที่ราชการ ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารต่างๆ

  • วันและเวลาราชการ วันจันทร์ วันศุกร์ เวลา 08.30 – 17.00 น. *ธนาคารและสถานที่ราชการจะไม่เปิดทำการในวันเสาร์ และวันอาทิตย์
  • ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และร้านอาหารส่วนใหญ่เปิดบริการทุกวัน ในช่วงวันธรรมดาส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น. และช่วงวันหยุดส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการจนถึงช่วงดึก 09.00 – 21.00 น.

v เมื่อถึงสนามบินสุวรรณภูมิ
  • เช็คจากจอ Monitor ว่า สายการบินของท่านต้อง Check-in ที่ Counter ใด เมื่อเช็คอินแล้ว ท่านจะได้รับ Boarding Pass และ Luggage Tag ตามจำนวนกระเป๋าที่ท่านโหลด
  • ควรเดินเข้าเพื่อตรวจ Passport ขาออกที่กองตรวจคนเข้าเมือง Passport Control ก่อนเวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อเผื่อเวลาเดินเข้า Gate ในกรณีที่ Gate อยู่ไกล


เมื่อไปถึงแล้วต้องติดต่อใครบ้าง
School/University: อย่าลืมแจ้งให้ทางมหาวิทยาลัยและทางที่พักทราบว่าคุณจะเดินทางไปถึงวันไหน สายการบินอะไร เวลากี่โมง ลองถามดูว่ามหาวิทยาลัยมีบริการมารับนักศึกษาต่างชาติที่สนามบินหรือไม่ จดรายละเอียดที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของคนที่คุณต้องติดต่อติดตัวไว้เสมอ ถ้าต้องเดินทางไปยังที่พักเอง ควรตรวจสอบวิธีการเดินทางและแลกเงินให้พอสำหรับค่ารถไปก่อนล่วงหน้า

รายละเอียดอื่นๆเบอร์โทรที่ควรทราบ
  • สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน (Royal Thai Embassy)

2 Cook Street P.O. Box 17-226, Karori, Wellington, New Zealand
โทรศัพท์ (644) 476-8616-20              โทรสาร (644) 476-3677, 476-8610
E-mail : thaiembassynz@xtra.co.nz
เวลาทำการ 09.0012.30 น. และ 14.0017.00 น.        วันจันทร์ วันศุกร์
  • สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองโอ๊คแลนด์ (Royal Thai Consulate-General)

Level 5 World Sun Alliance Building, 18 Shortland Street P.O. Box 7311, Auckland, New Zealand
โทรศัพท์ (649) 373-3331 โทรสาร (649) 373-3423
เวลาทำการ 09.0012-30 น. และ 14.0017.00 น. วันจันทร์ วันศุกร์
กงสุลกิตติมศักดิ์ : Mr. Michael Whale
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 02-575-1046-51โทรสาร 02-575-1052

v วันแรกของการเรียน
  • ·   การเดินทางจากที่พักไปโรงเรียน Host Family อาจจะพาไปส่งหรือไม่ก็จะบอกเราว่าต้องเดินทางไปโรงเรียนอย่างไร
  • ·   เช็คข้อมูลและเวลานัดหมายจากในเอกสาร Arrival Instruction ที่โรงเรียนมีส่งไว้ให้ก่อนเดินทาง
  • ·    เอกสารที่ควรจะนำติดตัวในการไปเรียนวันแรก ได้แก่ เอกสารและใบตอบรับจากโรงเรียน สำเนาพาสปอร์ต สมุด และอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ
  • ·   เมื่อไปถึงโรงเรียน จะมีการทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเพื่อจัดว่านักเรียนต้องเรียนในระดับไหน
  • ·    มีการปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ ซึ่งจะมีการให้ข้อมูลสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรงเรียน เกี่ยวกับเมืองที่เราอยู่ การเปิดบัญชีธนาคาร การซื้อซิมโทรศัพท์  และแนะนำให้รู้จักครูหรือเจ้าหน้าที่ที่จะดูแลช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ รวมถึงพาดูรอบๆโรงเรียนห้องเรียน ห้องสมุด หรือสถานที่สำคัญต่างๆ ว่าตรงไหนเป็นอะไร ทำอะไรได้บ้าง





...................
สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อ 02-3924186 หรือ chanin@ascend-education.com (พี่นิน), lan@ascend-education.com (พี่หลัน)
สอบถามข้อมูลผ่าน LINE@ กดลิ้งนี้ https://line.me/R/ti/p/%40ova2950r

หรือไอคอนข้างล่างนี้